top of page

สถานภาพ

การจัดตั้งและอำนาจหน้าที่

ของสำนักงานคณะกรรการตรวจข้าว

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

 1. สถานภาพ

             เป็นหน่วยงานภาคเอกชนในสังกัดสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย(ตามพระราชบัญญัติหอการค้า 

พ.ศ.2509) จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติงานตรวจสอบคุณภาพข้าวที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพาณิชย์

 

2. การจัดตั้งและอำนาจหน้าที่

        2.1  เพื่อให้ชื่อเสียงและคุณภาพข้าวไทยซึ่งเป็นสินค้าขาออกที่สำคัญยิ่งของประเทศไทยเป็นที่น่าเชื่อถือในนานาประเทศยิ่งขึ้นกระทรวงพาณิชย์จึงได้มอบหมายให้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบข้าวที่ส่งออกนอกประเทศว่ามีคุณภาพและจำนวนตรงกับที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเพียงใดหรือไม่ เมื่อตรวจสอบแล้วได้ผลประการใดให้ออกหนังสือรับรองให้ผู้ส่งออกและรายงานผลให้กรมการค้าต่างประเทศทราบ ทั้งนี้ให้เก็บค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบเท่าที่จำเป็นและโดยได้รับความเห็นชอบจากกรมการค้าต่างประเทศแล้ว โดยเริ่มการปฏิบัติสำหรับข้าวที่ยื่นขออนุญาตส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2500 เป็นต้นไป โดยในชั้นแรกให้ตรวจสอบเฉพาะการส่งออกข้าว 25% และคุณภาพต่ำกว่า 25% รวมทั้งข้าวหักและปลายข้าวทุกชนิด (ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการตรวจสอบข้าวที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 22 มกราคม 2500) ต่อมาได้มีประกาศกรมการค้าต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน 2500 แจ้งการมอบหมายให้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยตรวจสอบข้าวทุกชนิดที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักรตั้งแต่ วันที่ 15 เมษายน 2500 เป็น ต้นไป หลังจากนั้นได้มีระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งข้าวออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2545 ยกเว้นให้การส่งสินค้ามาตรฐานข้าวขาวหอมมะลิไทยออกไปนอกราชอาณาจักร ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เนื่องจากได้มีการประกาศกำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานในการส่งออกแล้ว  จึงต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฏหมายว่า ด้วยมาตรฐานสินค้าขาออกโดยเฉพาะและต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 ได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวขาวเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานข้าวขาว พ.ศ.2555 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ได้กำหนดให้สินค้าข้าวขาวต่อไปนี้เป็นสินค้ามาตรฐาน  ตามประกาศนี้ หมายถึงข้าวขาว 100% ข้าวขาว 5% ข้าวขาว 10% ข้าวขาว 15% และข้าวขาว 25% จึงทำให้การส่งออกสินค้าข้าวขาวข้างต้นต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าขาออกเช่นเดียวกับสินค้าข้าวหอมมะลิไทย ต่อมากระทรวงพาณิชย์ได้มีประกาศยกเลิกสินค้าข้าวขาวออกจากการเป็นสินค้มาตรฐานเมื่อวัน 30 กันยายน 2559                          

             ฉะนั้นในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าวจึงเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจสอบข้าวทุกชนิด ยกเว้นข้าวหอมมะลิที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

    

             2.2 เนื่องจากการปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นงานที่จะต้องปฏิบัติเป็นประจำต่อเนื่องในระยะยาวตลอดไป คณะกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจึงได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าวขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานในการปฏิบัติงานตรวจสอบข้าวที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพาณิชย์ ดังกล่าวเป็นการเฉพาะสำนักงานฯ นี้เดิมตั้งอยู่ที่ อาคารสมาคม โรงสีไฟกรุงเทพ เลขที่ 233 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา กรุงเทพฯ ต่อมาทางสมาคมโรงสีไฟกรุงเทพได้ จำหน่ายที่ดินและอาคารดังกล่าว คณะกรรมการตรวจ ข้าวจึงได้จัดซื้อพื้นที่ชั้น 16 ของอาคารสาธรธานี 2 เลขที่ 92/43 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ และเปิดใช้เป็นที่ทำการของ สำนักงานฯ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2530 มาจนถึงปัจจุบัน

3. การบริหารงาน

        คณะกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้อาศัยอำนาจตามข้อ 27 แห่งข้อบังคับของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจข้าวขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติงานการตรวจสอบคุณภาพข้าวส่งออก   และจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าวขึ้น เพื่อปฏิบัติงานเป็นการเฉพาะโดยมีกรรมการ-เลขานุการและกรรมการ-รองเลขานุการคณะกรรมการตรวจข้าวเป็นผู้บริหารในสำนักงานฯ เต็มเวลา  โดยอยู่ในความกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจข้าว  คณะกรรมการตรวจข้าวมีวาระการปฏิบัติงาน 2 ปีเท่ากับวาระของคณะกรรมการสภาหอการค้าฯ ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดนั้น

 

4.  โครงสร้างการบริหารงานภายในองค์กร

        สำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว แบ่งโครงสร้างในการปฏิบัติงานออกเป็น 6 ส่วนงาน ดังนี้

         

         4.1 ส่วนกลาง

             -  ทำหน้าที่ด้านงานบริหารทั่วไป งานสถิติข้อมูล และงานบุคลากร

        

         4.2 ส่วนตรวจสอบ

             -  ทำหน้าที่รับคำขอแจ้งงานให้ส่งพนักงานตรวจข้าว (Checker) ออกไปตรวจสอบคุณภาพข้าวที่ส่งออก

             -  จัดส่งพนักงานตรวจข้าวออกไปตรวจสอบคุณภาพข้าวตามที่ได้รับแจ้ง

             - รับรายงานการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจข้าว (Riceinspection Report หรือ CheckWeight) พร้อมด้วยตัวอย่างข้าวจัดส่งให้ส่วนวิเคราะห์เพื่อดำเนินการต่อไป

             -  กำกับดูแลพนักงานตรวจข้าวในการปฏิบัติงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

           4.3 ส่วนวิเคราะห์

              -  ทำหน้าที่ตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวทางกายภาพจากตัวอย่างข้าวที่พนักงานตรวจข้าวนำกลับมาจากการปฏิบัติงานตรวจสอบแต่ละครั้งว่าถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่

              -  ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวที่ส่วนราชการส่งมาให้วิเคราะห์ในโอกาสต่างๆ

              -  รับตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวที่เอกชนส่งมาให้ตรวจสอบ

              -  ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนราชการและภาคเอกชนต่างๆ เกี่ยวกับคุณภาพข้าวในฐานะเป็นหน่วยงานผู้ชำนาญการเรื่องคุณภาพข้าว

 

            4.4 ส่วนหนังสือรับรอง

              -  ทำหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองผลการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพข้าวที่ส่งออกไปต่างประเทศ รวมทั้งยังให้บริการในการออกหนังสือรับรองต่างๆ เกี่ยวกับข้าวที่ส่งออกไปต่างประเทศตามที่ผู้ซื้อกำหนด ได้แก่

                         -   Quality and Weight Certificate

                         -   Health Certificate

                         -   Certificate of Crop Year

                         -   Certificate of Origin

                         -   ใบรับรองอื่นๆ ที่ผู้ซื้อร้องขอ

 

             4.5 ส่วนการเงิน

              -  ทำหน้าที่ในการรับชำระค่าธรรมเนียมจากการให้บริการต่างๆ

              -  ปฏิบัติหน้าที่การเงินอื่นๆ ของสำนักงานฯ รวมทั้งงานด้านการพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง

 

             4.6 ส่วนบัญชี

              -  ทำหน้าที่ด้านบัญชี ภาษีอากรต่างๆ และประสานงานด้านการประกันสังคม

         หน้าแรก  >  เกี่ยวกับองค์กร  > สถานภาพและอำนาจหน้าที่

ประกาศกระทรวง 2500.jpg
ประกาศปี 2555.png
20191022112717542_0001 copy.jpg
หน้า 2.jpg
หน้า 3.jpg
หน้า 4.jpg
ประกาศกระทรวง 1.jpg
ประกาศกระทรวง 2.jpg
bottom of page